ตากสินมหาราช บุรุษผู้นำชาติกับสู่เอกราชอีกครั้ง

ตีค่ายนายทองอินที่เมืองธนบุรี พ.ศ.2310

images

การรวบรวมไพร่พลของกองทัพ พ.ศ.2310

      กรุงศรีอยุธยาแตกเมื่อสงกรานต์ เดือน 5 เมษายน พ.ศ. 2310  แต่ก่อนจะเลิกทัพกลับไปแม่ทัพพม่าตั้งให้สุกี้พระนายกองเป็นนายใหญ่คุมกำลังประมาณ3,000 อยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ข้างเหนือพระนครศรีอยุธยาแห่งหนึ่งแล้วให้ไทย ชื่อ นายทองอิน คุมกำลังตั้งอยู่ที่เมืองธนบุรีอีกแห่งหนึ่งสั่งให้คอยค้นหาผู้คนและสืบทรัพย์สมบัติซึ่งยังตกค้างรวบรวมส่งตามไปเมืองพม่าด้วยเหตุนี้พม่าจึงยังมีอำนาจอยู่ในกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองใกล้เคียงพระเจ้าตากหนีออกจากพระนครศรีอยุธยาก่อนกรุงแตกไปได้มีการรวบรวมผู้คนทางเมืองชายทะเลตะวันออกอยู่ที่เมืองจันทบุรีครั้นได้นายทัพนายกองเพิ่มเติมมากขึ้นพอถึงเดือน  11 ปี กุน พ.ศ. 2310 ส้นมรสุมพระเจ้าตากต่อเรือรบได้ 100 ลำรวบรวมทหารทั้งไทยจีนได้ประมาณ 5,000 ก็ยกทัพเรือออกจากเมืองจันทบุรีจะเข้าขับไล่พม่าเมื่อจัดการเมืองชลบุรีเรียบร้อยแล้วก็ยกกองทัพเรือมาเข้าบริเวณปากน้ำเจ้าพระยาฝ่ายนายทองอิน ซึ่งพม่าให้ตั้งรักษาเมืองธนบุรีรู้ว่าพระเจ้าตากยกกองทัพเรือเข้ามาทางปากน้ำก็ให้รีบขึ้นไปบอกแก่สุกี้แม่ทัพที่ค่ายโพธิ์สามต้นแล้วเรียกคนขึ้นรักษาป้อมวิไชยประสิทธิ์และหน้าที่เชิงเทินเมืองธนบุรีคอยจะต่อสู้ครั้นกองทัพพระเจ้าตากยกขึ้นมาถึงพวกรี้พลที่รักษาหน้าที่เห็นว่ากองทัพไทยยกมาก็ไม่เป็นใจที่จะต่อสู้รบพุ่งกันหน่อยหนึ่งพระเจ้าตากก็ตีได้เมืองธนบุรีจับตัวนายทองอินได้ให้ประหารชีวิตเสียแล้ว ให้เร่งกองทัพขึ้นไปยังกรุงศรีอยุธยาเพื่อเข้าตีค่ายโพธิ์สามต้นพระเจ้าตากตีได้ค่ายพม่าที่โพธิ์สามต้น อยู่ริมแควป่าสักเหนือกรุงศรีอยุธยาก็เท่ากับขับไล่พม่าแล้วยึดกรุงศรีอยุธยาคืนมาแต่ยังไม่ฟื้นฟูพระนครกลับรวบรวมไพร่พลลงไปสถาปนาเมืองธนบุรีให้เป็นกรุงธนบุรีนาน 15 ปีเหตุการณ์ตอนนี้สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

   ดาวน์โหลด (1)

การตั้งกองทัพ  พ.ศ.2310

   “เมื่อพระเจ้าตากมีชัยชนะพม่าแล้วตั้งพักกองทัพ อยู่ที่ในค่ายพม่า ที่โพธิ์สามต้นขณะนั้นผู้คนและทรัพย์สมบัติซึ่งสุกี้มิได้ส่งไปเมืองพม่าเอารวบรวมรักษาไว้ ในค่ายแม่ทัพมีพวกข้าราชการที่พม่าจักเอาไปไว้หลายคนคือพระยาธิเบศร์บดีจางวางมหาดเล็ก เป็นต้นต่างพากันมาเฝ้าถวายบังคมเจ้าตากทูลให้ทราบถึงที่พระเจ้าเอกทัศสวรรคต สุกี้ให้ฝังพระบรมศพไว้ที่ในกรุงฯและทูลว่ายังมีเจ้านายซึ่งพม่าจับได้ ต้องกักขังอยู่ในค่ายนั้นหลายพระองค์ที่เป็นพระราชธิดาของพระเจ้าบรมโกษฐ์ คือ เจ้าฟ้าสุริยาพระองค์หนึ่งเจ้าฟ้าพินทวดีพระองค์หนึ่ง เจ้าฟ้าจันทวดีพระองค์หนึ่งพระองค์เจ้าฟักทองพระองค์หนึ่งรวม  4  พระองค์ที่เป็นชั้นหลานเธอคือ หม่อมเจ้ามิตรธิดาของกรมพระราชวังบวรมหาเสนาพิทักษ์ (เจ้าฟ้ากุ้ง)องค์หนึ่งหม่อมเจ้ากระจาด ธิดากรมหมื่นจิตรสุนทรองค์หนึ่ง หม่อมเจ้ามณีธิดากรมหมื่นเสพภักดีองค์หนึ่งหม่อมเจ้าฉิมธิดาเจ้าฟ้าจีดองค์หนึ่ง รวม 4 องค์  เจ้านายทั้ง  8  องค์นี้ เมื่อพม่าจับได้ประชวรอยู่จึงยังมิได้ส่งไปยังเมืองอังวะ เจ้าตากทราบก็มีความสงสารและแต่ก่อนมาเมื่อเจ้าตากได้เมืองจันทบุรีนั้นก็ได้พบพระองค์เจ้าทับทิมราชธิดาพระเจ้าเสือองค์หนึ่งซึ่งพวกข้าพาหนีลงไปที่เมืองจันทบุรีเห็นจะเป็นเพราะเจ้าจอมมารดาเป็นญาติกับพระยาจันทบุรีเจ้าตากก็อุปการะทำนุบำรุงไว้ จึงสั่งให้จัดที่ให้เจ้านายประทับตามสมควรและให้ปล่อยคนทั้งปวงที่ถูกพม่ากักขังไว้แล้วแจกจ่ายทรัพย์สิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคประทานให้พ้นทุกข์ทรมานด้วยกันทั้งนั้นแล้วจึงให้ปลูกเมรุดาดผ้าขาวที่ท้องสนามหลวงและให้สร้างพระโกศกับเครื่องประดับสำหรับงานพระบรมศพตามกำลังที่จะทำได้ครั้นเตรียมการพร้อมเสร็จเจ้าตากจึงเสด็จเข้ามาตั้งพลับพลาอยู่ที่ในกรุงให้ขุดพระ  บรมศพพระเจ้าเอกทัศเชิญลงพระโกศประดิษฐานที่ในพระเมรุที่สร้างไว้ให้เที่ยวหาพระสงฆ์ซึ่งยังมีเหลืออยู่ นิมนต์มารับทักษิณานุปทานและสดับปกรณ์ตามประเพณีแล้วเจ้าตากกับเจ้านายในพระราชวงศ์เดิมและข้าราชการทั้งปวง ก็ถวายพระเพลิงพระบรมศพและประจุพระอัฐิธาตุตามเยี่ยงอย่างสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมาในหนังสือพระราชพงศาวดารกล่าวว่าเมื่อเจ้าตากทำการพระบรมศพพระเจ้าเอกทัศเสร็จแล้วคิดจะปฏิสังขรณ์พระนครศรีอยุธยาตั้งเป็นราชธานีดังแต่ก่อนมาจึงขึ้นทรงช้างที่นั่งเที่ยวทอดพระเนตรในบริเวณพระราชวัง และประพาสตามท้องที่ในพระนครเห็นปราสาทราชมนเทียรตำหนักใหญ่น้อยทั้งอาวาสวิหาร และบ้านเรือนชาวพระนคร ถูกข้าศึกเผาทำลายเสียเป็นอันมากที่ยังดีอยู่นั้นน้อยก็สังเวชสลดพระหฤทัยในวันนั้น เสด็จเข้าไปประทับแรมอยู่ที่พระที่นั่งทรงปืนอันเป็นท้องพระโรงที่เสด็จออกข้างท้ายวังมาแต่ก่อนเจ้าตากทรงพระสุบินว่าสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนมาขับไล่มิให้อยู่ครั้นรุ่งเช้าจึงเล่าพระสุบินให้ข้าราชการทั้งปวงฟัง แล้วดำรัสว่า เดิมเราคิดจะปฏิสังขรณ์ พระนครให้คืนดีดังเก่า แต่เมื่อเจ้าของเดิมท่านยังหวงแหนอยู่ฉะนี้เราชวนกันไปสร้างเมืองธนบุรีเถิดแล้วเจ้าตากก็ให้อพยพผู้คนลงมาตั้งราชธานีอยู่ที่เมืองธนบุรีแต่นั้นมา”ต่อแต่นี้ก็ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีที่ทรงทำให้สถานะ พระมหากษัตริย์ ของราชอาณาจักรศรีอยุธยาเด่นชัดและสมบูรณ์อย่างไม่เป็นที่สงสัยอีกต่อไปกรุงศรีอยุธยา เสียแก่พม่าเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310 แต่ก่อนหน้านั้นราว 3 เดือนกว่าสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อยังเป็นพระยาตากได้พาสมัครพรรคพวกไพร่พลไทยจีนจำนวนหนึ่ง ตีฝ่ากองทัพพม่ามุ่งหน้าไปทางชายทะเลตะวันออกพระยาตากไม่ใช่ทั้งคนแรกและคนสุดท้าย ที่ได้ละทิ้งหน้าที่หลบหนีไปเพราะระบบการเมือง และสังคมของราชอาณาจักรศรีอยุธยาได้ล่มสลายลง ก่อนที่พม่าจะระเบิดป้อมทลายกำแพงแล้ว แต่นานไม่ถึง 9 เดือน หลังเสียกรุง พระยาตากได้ประกาศพระองค์ เป็นพระมหากษัตริย์ที่คนทั่วไปเรียกกันภายหลังว่าพระเจ้าตากยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีมายึดกรุงศรีอยุธยาคืนแล้วฟื้นฟูราชอาณาจักรศรีอยุธยาขึ้นมาใหม่ชื่อกรุงธนบุรี

ตีค่ายโพธิ์สามต้น

t9

การรวบรวมกำลังกองหลวง พ.ศ.2091

        พื้นที่บริเวณนี้อยู่ห่างจากกรุงศรีอยุธยาประมาณ  6 กม.จึงเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเส้นทางเดินทัพของข้าศึกทีเข้าตีกรุงศรีอยุธยาตลอดมา เมื่อ พ.ศ.2091 พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้นำทัพหลวง เสด็จยกทัพมาตั้งค่ายหลวง ณ ทุ่งพุทเลาทรงช้างพระที่นั่งกระโจมทองนำกำลังกองหลวงข้าม โพธิ์สามต้น มาตามทุ่งเพนียด และตั้งค่าย ณ วัดสามวิหาร เตรียมเข้าตีกรุงศรีอยุธยาพ.ศ.2290 พระยารามัญสามคนคือ พระยาราม พระยากลางเมืองและพระยาน้อยวันดี พร้อมครอบครัวมอญประมาณสี่ร้อยเศษหนีภัยสงครามเข้ามาพึ่งบรมโพธิ์สมภารเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงศรีอยุธยา และทรงตรัสสั่งให้ครอบครัวมอญเหล่านี้ไปอยู่ที่ชุมชน โพธิ์สามต้น

การนำทัพเข้าตี พ.ศ.2310

images (3)

     ต่อมาเมื่อพระเจ้าตากสินมหาราชทรงรวบรวมกำลังคนยกกองทัพเรือจากเมืองจันทบุรีเข้าตีเมืองธนบุรีได้แล้ว  ก็ยกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาโดยเข้าตียึดค่ายโพธิ์สามต้นคืนจากพม่าขณะนั้นมีคนและทรัพย์สมบัติที่สุกี้ยังมิได้ส่งไปพม่า จึงรวบรวมเก็บรักษาไว้ใน ค่ายโพธิ์สามต้น  และเมื่อพระองค์ทรงสำรวจดูสภาพกรุงศรีอยุธยาแล้วทรงเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาเสียหายเกินกว่าจะปฏิสังขรณ์ได้ จึงโปรดให้ไปตั้งราชธานีใหม่ที่กรุงธนบุรี

การเสียกรุงครั้งที่ 2 พ.ศ.2310

     หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยา พ.ศ.2310 แล้ว ”ค่ายโพธิ์สามต้น ” ถือว่าเป็นกองบัญชาการใหญ่ของพม่าที่ควบคุมดูแลกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับเป็นสถานที่รวบรวมเชลยศึกคนไทยและทรัพย์สินต่างๆเพื่อส่งไปพม่า โดยมีสุกี้พระนายกอง เป็นแม่ทัพอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้นสุกี้พระนายกองหรือ สุกี้ เดิมชื่อนายทองสุก เป็นชาวไทยเชื้อสายมอญมีถิ่นฐานอยู่ ณ บ้านโพธิ์สามต้นระหว่างสงครามคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองนายทองสุกเข้าเป็นฝ่ายพม่าช่วยทำการรบอย่างแข็งขันจนเนเมียวสีหบดีตั้งให้เป็นตำแหน่งสุกี้และให้เป็นนายทัพคุมพลมอญและพม่าที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและทรัพย์สินสิ่งของต่างๆส่งไปพม่านายทองสุกหรือสุกี้พระนายกองได้สิ้นชีวิตในที่รบที่ค่ายโพธิ์สามต้นเมื่อสมเด็จพระเจ้าตากยกทัพมายึดค่ายโพธิ์สามต้นเพื่อกอบกู้อิสรภาพ

เมื่อสูญสิ้นเมืองอโยธยา

images (2)

เกิดการแย่งชิงบัลลังก์คริสต์ศตวรรษที่ 18

         หลังจากยุคสมัยอันนองเลือดแห่งการต่อสู้ของราชวงศ์ กรุงศรีอยุธยาเข้าสู่ “ยุคทอง” สมัยที่ค่อนข้างสงบในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่อศิลปะวรรณกรรมและการเรียนรู้เฟื่องฟูยังมีสงครามกับต่างชาติกรุงศรีอยุธยาสู้รบกับเจ้าเหงียน (Nguyen Lords) ซึ่งเป็นผู้ปกครองเวียดนามใต้เพื่อการควบคุมกัมพูชา เริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2258 แต่ภัยคุกคามที่ใหญ่กว่ามาจากพม่า ซึ่งราชวงศ์ลองพญาใหม่ได้ผนวกรัฐฉานเข้ามาอยู่ในอำนาจช่วง 50 ปีสุดท้ายของราชอาณาจักรมีการสู้รบอันนองเลือดระหว่างเจ้านาย โดยมีพระราชบัลลังก์เป็นเป้าหมายหลักเกิดการกวาดล้างข้าราชสำนักและแม่ทัพนายกองที่มีความสามารถตามมาสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ)พระมหากษัตริย์พระองค์สุดท้ายบังคับให้สมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร พระเชษฐา ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ขณะนั้น สละราชสมบัติและขึ้นครองราชย์แทน

การนำไพร่พลไปปราบ พ.ศ. 2303 

images (5)

        พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญา ทรงยกทัพรุกรานอาณาจักรอยุธยา หลังจากอยุธยาว่างเว้นศึกมานานกว่า 150 ปีซึ่งในขณะนั้นอยุธยาเกิดการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างเจ้าฟ้าเอกทัศกับเจ้าฟ้าอุทุมพร อย่างไรก็ดี พม่าไม่อาจหักเอากรุงศรีอยุธยาได้ในการทัพครั้งนั้นแต่ใน พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ พระราชโอรสแห่งพระเจ้าอลองพญา ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกหนหนึ่ง ทรงแบ่งกำลังออกเป็นสองส่วน มุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาต้านทานการล้อมของทัพพม่าไว้ได้ 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถหักเข้าพระนครได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310  

การกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตาก

images (7)

 

การแบ่งชุมนุมต่างๆพ.ศ. 2310

          ในวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2310 ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ขึ้น 4 ค่ำ เดือนยี่ จุลศักราช 1128 ปีจอ อัฐศกพระยาวชิรปราการเห็นว่ากรุงศรีอยุธยาคงต้องเสียทีแก่พม่าจึงตัดสินใจร่วมกับพระยาพิชัยพระเชียงเงินหลวงพรหมเสนาหลวงราชเสน่หาขุนอภัยภักดีพร้อมด้วยทหารกล้าราว500คนมีปืนเพียงกระบอกเดียวแต่ชำนาญด้านอาวุธสั้นยกกำลังออกจากค่ายวัดพิชัยและตีฝ่าวงล้อมทหารพม่าไปทางทิศตะวันออกมุ่งตรงไปยังบ้านโพธิ์สังหารรุ่งเช้าได้ต่อสู้กับกองทหารพม่าจนล้มตายและบางส่วนแตกหนีไปก่อนเดินทางไปตั้งค่ายพักอยู่บ้านพรานนก ในขณะนั้นมีทหารพม่ากองหนึ่งซึ่งประกอบด้วยทหารม้าประมาณ 30 คน ทหารเดินเท้าประมาณ 200 คน เดินทางมาจากแขวงเมืองปราจีนบุรี สวนทางมาพบทหารพระยาวชิรปราการที่เที่ยวหาเสบียงอาหาร ทหารพม่าก็ไล่ตามมา แต่ถูกกลอุบาย “วงกับดักเสือ” ถูกตีกระหนาบจนแตกหนีไปพวกราษฎรที่หลบซ่อนพม่าอยู่ ทราบข่าวพระยาวชิรปราการรบชนะพม่าก็พากันเข้ามาสมัครเป็นพรรคพวกพระยาวชิรปราการจึงให้ราษฎรไปเกลี้ยกล่อมหัวหน้านายซ่องมาสวามิภักดิ์ และให้นำช้างม้าพาหนะและเสบียงอาหารมาด้วย นายซ่องทั้งหลายไม่ยอมอ่อนน้อมก็ถูกปราบปรามจนราบคาบริบพาหนะ ผู้คน ช้าง ม้า และศาสตราวุธได้เป็นจำนวนมาก หลังจากนั้นเจ้าตากจึงยกกองทหารไปทางนาเริง เมืองนครนายกผ่านด่านกบแจะข้ามลำน้ำปราจีนบุรี ไปตั้งพักอยู่ชายดงศรีมหาโพธิ์ ข้างฝั่งตะวันออก พม่าที่ตั้งทัพอยู่ปากน้ำเจ้าโล้ หรือปากน้ำโจ้โล้ เมืองฉะเชิงเทราพระยาวชิรปราการได้ยกกองทัพผ่านเมืองฉะเชิงเทรา ชลบุรี แล้วจึงเดินทางต่อไปยังบ้านนาเกลือ แขวงเมืองบางละมุงเมื่อถึงเมืองระยอง เจ้าเมืองระยองซึ่งได้ยินกิติศัพท์ของพระยาวชิรปราการก็ยอมอ่อนน้อมเชิญให้เข้าเมืองนับตั้งแต่ได้ถอนตัวออกจากการป้องกันพระนครนั้น ภายในเวลาไม่ถึงเดือน ก็สามารถยึดเมืองระยองเป็นที่มั่นได้ ย่อมแสดงให้เห็นถึงความสามารถและศักยภาพที่มีอยู่เหนือกว่าชุมนุมอื่น ๆ ในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา

การเข้ายึดเมืองจันทบุรี พ.ศ.2310

t6

       การประกาศยึดเมืองระยองได้กระทำกลางทุ่งนาและไพร่พลจำนวนมากพระยาวชิรปราการได้ประทับ ณ บริเวณวัดลุ่มมหาชัยชุมพล และได้ประกาศแสดงแสนยานุภาพ แล้วเกิดพายุหมุนจนทำให้ต้นตาลต้นหนึ่งหมุนเป็นเกลียวเมื่อพายุหมุนหยุดแล้วต้นตาลที่หมุนจึงขดเป็นวงไม่คลายตัวปัจจุบันต้นตาลต้นนั้นยังอยู่หน้าวัดประดู่ชาวบ้านเรียกกันว่าตาลขดหลังจากนั้นบรรดาแม่ทัพนายกองที่สวามิภักดิ์ต่างพร้อมใจกันยกพระยาวชิรปราการขึ้นเป็นผู้นำขบวนการกอบกู้แผ่นดินและเรียกพระยาวชิรปราการว่าเจ้าตากนับตั้งแต่นั้นมาถึงแม้จะเป็นเสมือนผู้ละเมิดกฎหมายบ้านเมืองแต่เจ้าตากก็ระวังตนมิได้คิดตั้งตัวเป็นกบฏให้เรียกคำสั่งว่าพระประศาสน์อย่างเจ้าเมืองเอกเท่านั้นอันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันที่7เมษายน พ.ศ.2310พม่าจุดไฟเผาเมืองจนวอดวายพระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทรงมีพระบรมราชโองการให้จับพระเจ้าแผ่นดินพระบรมวงศานุวงศ์และรวบรวมสมบัติทั้งหมดของอยุธยาส่งกลับไปพม่าข่าวกรุงแตกได้แพร่กระจายขณะที่พระยาตากอยู่ที่เมืองระยองพระยาตากจึงได้ประกาศตนเป็นผู้นำในการที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาและกอบกู้กรุงศรีอยุธยาให้กลับรุ่งเรืองดังเดิมการยึดจันทบุรีเจ้าตากเดินทัพจากระยองผ่านแกลงเข้าบางกระจะมุ่งยึดจันทบุรีเจ้าเมืองจันทบุรีไม่ยอมสวามิภักดิ์หากเจ้าตากต้องการยึดเมืองจันทบุรีไว้เป็นที่มั่น เพื่อรวบรวมกำลังกลับมาตีพม่าจึงสั่งทหารทุกคนว่า “เราจะตีเมืองจันทบุรีในค่ำวันนี้ เมื่อกองทัพหุงข้าวเสร็จแล้วทั้งนายไพร่ให้เททิ้งอาหารที่เหลือและต่อยหม้อเสียให้หมดหมายไปกินข้าวเช้าด้วยกันที่ในเมืองเอาพรุ่งนี้ถ้าตีเอาเมืองไม่ได้ในค่ำวันนี้ก็จะให้ได้ตายเสียด้วยกันให้หมดทีเดียว”ในวันเสาร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2310 ครั้นถึงเวลา 19.00 น. เจ้าตากจึงได้สั่งให้ทหารไทยและจีนลอบเข้าไปอยู่ตามสถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้ว ให้คอยฟังสัญญาณเข้าตีเมืองพร้อมกันจึงให้โห่ขึ้นให้พวกอื่นรู้ เมื่อเวลา 03.00 น. เจ้าตากก็ขึ้นคอช้างพังคีรีบัญชรให้ยิงปืนสัญญาณพร้อมกับบอกพวกทหารเข้าตีเมืองพร้อมกันส่วนเจ้าตากก็ไสช้างเข้าพังประตูเมืองจนทำให้บานประตูเมืองพังลงทหารเจ้าตากจึงกรูกันเข้าเมืองได้พวกชาวเมืองต่างพากันละทิ้งหน้าที่หนีไปส่วนพระยาจันทบุรีก็พาครอบครัวลงเรือหนีไปยังเมืองบันทายมาศเจ้าตากตีเมืองจันทบุรีได้ เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 7 แรม 3 ค่ำ จุลศักราช1129 ปีกุน นพศก เพลา 3 ยามเศษ ตรงกับวันที่ ๑๕ เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2310

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว 2 เดือนหลังจากนั้นเจ้าตากได้เคลื่อนทัพไปยังเมืองตราดพวกกรมการและราษฎรเกิดความเกรงกลัวต่างพากันมาอ่อนน้อมโดยดีที่ปากน้ำเมืองตราดมีเรือสำเภาจีนมาทอดทุ่นอยู่หลายลำเจ้าตากได้เรียกนายเรือมาพบแต่พวกจีนนายเรือขัดขืนต่อสู้เจ้าตากจึงนำกองเรือไปล้อมสำเภาจีนเหล่านั้นได้ทำการต่อสู้กันอยู่ประมาณครึ่งวันเจ้าตากก็ยึดสำเภาจีนไว้ได้หมดได้ทรัพย์สินสิ่งของมาเป็นจำนวนมากหลังจากนั้นเจ้าตากได้เดินทางกลับจากตราดมาตั้งมั่นรวบรวมผู้คนอยู่ที่เมืองจันทบุรีเพื่อวางแผนปฏิบัติการรบเพื่อตีกรุงศรีอยุธยาคืนจากข้าศึกพร้อมกับสั่งให้ต่อเรือรบและรวบรวมเครื่องศัตราวุธและยุทธภัณฑ์ภายในเวลา๓เดือนพร้อมกับฝึกไพร่พลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการเมื่อสิ้นฤดูมรสุมในเดือนตุลาคม พ.ศ.2310เจ้าตากได้ยกกองทัพเรือจากจันทบุรีเข้ามาทางปากแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วเข้าโจมตีข้าศึกที่เมืองธนบุรีเมื่อเจ้าตากยึดเมืองธนบุรีและปราบนายทองอินได้แล้วจึงเคลื่อนทัพต่อไปที่กรุงศรีอยุธยาเข้ายึดค่ายโพธิ์สามต้น ปราบพม่าจนราบคาบ จึงสามารถกอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนมา เมื่อวันศุกร์ เดือน 12 ขึ้น 15 ค่ำ จุลศักราช1129 ปีกุน นพศก เวลาบ่ายโมงเศษ ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๓๑๐ เวลาประมาณ 13.00 น. ใช้เวลา 7เดือนหลังจากคราวเสียกรุง

การปราบชุมชนต่างๆ

picture2011-288255423181

ปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง พ.ศ. 2313

         ล่วงมาถึงปีขาล พ.ศ. 2313  มีข่าวมาถึงกรุงธนบุรีว่า  เมื่อเดือน 6 ปีขาล  เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวณถึงเมืองอุทัยธานี และเมืองชัยนาทเป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรีพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพ  จะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้นขณะนั้นพวกฮอลันดาจากเมืองยะกะตรา (จาร์กาตา)  ส่งปืนใหญ่มาถวาย และแขกเมืองตรังกานูก็นำปืนคาบศิลาเข้ามาถวาย จำนวน 2,000 กระบอกพอเหมาะแก่พระราชประสงค์ของพระเจ้ากรุงธนบุรี ที่จะใช้ทำศึกต่อไปในครั้งนี้พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากกรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฎหลักฐานจัดกำลังเป็น 3 ทัพ  ทัพที่ 1  พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จไปโดยขบวนเรือมีกำลังพล 12,000 คน ทัพที่ 2  พระยาอนุชิตราชาซึ่งได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยายมราช ถือพล 5,000 คน ยกไปทางบกข้างฟากตะวันออกของแม่น้ำแควใหญ่กองทัพที่ 3 พระยาพิชัยราชา ถือพล 5,000 คน ยกไปทางข้างฟากตะวันตกฝ่ายเจ้าพระยาฝาง  เมื่อทราบว่ากองทัพกรุงธนบุรียกกำลังขึ้นไปดังกล่าว  จึงให้หลวงโกษา  ยังคุมกำลังมาตั้งรับอยู่ที่เมืองพิษณุโลกกองทัพหลวงของพระเจ้ากรุงธนบุรี  ยกขึ้นไปถึงเมืองพิษณุโลก เมื่อ วันเสาร์ แรม 2 ค่ำ เดือน 9  พระเจ้ากรุงธนบุรีมีรับสั่งให้เข้าปล้นเมืองในค่ำวันนั้น ก็ได้เมืองพิษณุโลก  หลวงโกษา ยัง หนีไปเมืองเมืองสวางคบุรี  พระเจ้ากรุงธนบุรีได้เมืองพิษณุโลกแล้ว  กองทัพที่ยกไปทางบกยังขึ้นไปไม่ถึงทั้งสองทัพ ด้วยเป็นฤดูฝนหนทางลำบาก  พระองค์ประทับที่เมืองพิษณุโลกอยู่ 9 วัน  กองทัพพระยายมราชจึงเดินทางไปถึง  และต่อมาอีก 2 วัน  กองทัพพระยาพิชัยจึงยกมาถึงเมื่อกำลังพร้อมแล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงทรงให้กำลังทางบกรีบยกตามข้าศึกที่แตกหนีไปยังสวางคบุรีพร้อมกันทั้งสองทางรับกำลังทางเรือให้คอยเวลาน้ำเหนือหลากลงมาก่อนด้วยทรงพระราชดำริว่าในเวลานั้นน้ำในแม่น้ำยังน้อยหนทางต่อไปลำน้ำแคบ และตลิ่งสูงถ้าข้าศึกยกกำลังมาดักทางเรือจะเสียเปรียบข้าศึกทรงคาดการณ์ว่าน้ำจะหลากลงมาในไม่ช้าและก็เป็น

กองทัพพระยายมราชกับพระยาพิชัยราชา  เมื่อยกไปถึงเมืองสวางคบุรีแล้วก็ล้อมเมืองไว้เจ้าพระฝางรักษาเมืองไว้ได้ 3 วันก็นำกำลังยกออกจากเมืองตีฝ่าวงล้อมหนีขึ้นไปทางเหนือชุมนุมเจ้าพระฝางก็ตกอยู่ในอำนาจกรุงธนบุรีเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมเจ้าพระฝางได้แล้วก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำเกลี้ยกล่อมราษฎรที่แตกฉานซ่านเซ็น ให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิมจัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวงพบว่าเมืองพิษณุโลกมีพลเมือง15,000 คน  เมืองสวรรคโลก มี 7,000 คน  เมืองพิชัยรวมทั้งเมืองสวรรคบุรี มี 9,000 คนเมืองสุโขทัย มี 5,000 คน  เมืองกำแพงเพชรและเมืองนครสวรรค์ มีเมืองละ 3,000 คนเศษจากนั้นได้ทรงตั้งข้าราชการซึ่งมีบำเหน็จความชอบในการสงครามครั้งนั้นคือ

พระยายมราช ให้เป็นเจ้าพระยาสุรสีห์พิษณวาธิราช  อยู่สำเร็จราชการเมืองพิษณุโลก

พระยาพิชัยราชา  ให้เป็นเจ้าพระยาพิชัยราชา  สำเร็จราชการเมืองสวรรคโลก

พระยาสีหราชเดโชชัย  ให้เป็นพระยาพิชัย

พระยาท้ายน้ำ  ให้เป็นพระยาสุโขทัย

พระยาสุรบดินทร์  เมืองชัยนาท  ให้เป็นพระยากำแพงเพชร

พระยาอนุรักษ์ภูธร  ให้เป็นพระยานครสวรรค์

เจ้าพระยาจักรี (แขก) นั้นอ่อนแอในสงครามมีรับสั่งให้เอาออกเสียจากตำแหน่งสมุหนายก

พระยาอภัยรณฤทธิ์ ให้เป็นพระยายมราชและให้บัญชาการกระทรวงมหาดไทยแทนสมุหนายกด้วย เมื่อจัดการหัวเมืองเหนือเสร็จแล้ว จึงเสด็จกลับกรุงธนบุรีจริงตามนั้น  พระเจ้ากรุงธนบุรี  ก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปจากเมืองพิษณุโลก

ปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก

images (6)

    ครั้นถึงปีชวด พ.ศ. 2311  เมื่อย่างเข้าฤดูฝนสงครามทางด้านพม่าสงบลงพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ให้เตรียมเรือรบ และกำลังพล  เพื่อจะขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลกให้ได้ในปีนั้น  ครั้นถึง เดือน 11 อันเป็นฤดูน้ำนองพระเจ้ากรุงธนบุรีก็เสด็จยกกำลังทางเรือขึ้นไปเมืองเหนือ เมื่อเจ้าพิษณุโลกทราบข่าว จึงให้หลวงโกษา ชื่อยังคุมกำลังมาตั้งรับที่ตำบลบางเกยชัยซึ่งอยู่ในแขวงเมืองนครสวรรค์ อยู่เหนือปากน้ำโพขึ้นไปเล็กน้อยเมื่อกองทัพพระเจ้ากรุงธนบุรียกไปถึง ก็ได้รบพุ่งกันเป็นสามารถฝ่ายข้าศึกยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ของพระเจ้ากรุงธนบุรีกองทัพกรุงธนบุรีเห็นว่าจะรบพุ่งต่อไปไม่สำเร็จก็ถอยทัพกลับคืนมาพระนครฝ่ายเจ้าพระยาพิษณุโลกครั้นทราบว่า กองทัพของตนทำให้ฝ่ายกรุงธนบุรีล่าถอยกลับไปก็ได้ใจเชื่อว่าฝ่ายตนชนะแล้วคงจะตั้งตัวเป็นใหญ่กว่าชุมนุมทั้งปวงได้จึงตั้งพิธีราชาภิเษกตั้งตัวขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แต่พอราชาภิเษกแล้วได้ 7 วันก็เกิดโรคฝีขึ้นในลำคอถึงพิราลัยพระอินทร์อากรผู้เป็นน้องชายจึงขึ้นครองเมืองแทน  แต่ไม่กล้าตั้งตัวเป็นเจ้า ตั้งแต่นั้นมาชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลกก็อ่อนแอลงเพราะผู้คนพลเมืองไม่นิยมนับถือพระอินทร์อากเหมือนเจ้าพิษณุโลกเมื่อเหตุการณ์นี้ทราบไปถึงเจ้าพระฝางเจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสที่จะขยายอำนาจของตนจึงยกกองทัพมาตีเมืองพิษณุโลกตั้งล้อมเมืองอยู่ 2 เดือนชาวเมืองก็ลอบเปิดประตูเมือง ให้กองทัพเจ้าพระฝางเข้าเมืองเจ้าพระฝางก็จับพระอินทร์อากรประหารชีวิตแล้วกวาดต้อนผู้คนและเก็บทรัพย์สมบัติในเมืองพิษณุโลกพากลับไปเมืองสวางคบุรีบรรดาชาวเมืองพิษณุโลก และเมืองพิจิตรที่หลบหนีการกวาดต้อนได้ก็พากันอพยพครอบครัวมาพึ่งพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นอันมาก

ปราบชุมนุมเจ้าพิมาย  

t13

     พระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าการรวมเมืองไทยนั้นควรจะปราบชุมนุมเล็ก ๆ ก่อนชุมนุมที่จะไปปราบครั้งนี้คือชุมนุมเจ้าพิมายพระองค์จึงให้พระมหามนตรี กับพระราชวรินทรยกกำลังไปตีด่านกระโทกซึ่งทางฝ่ายเจ้าพิมายให้พระยาวรวงศาธิราชเป็นผู้รักษาด่านอยู่ส่วนพระองค์ยกไปตีด่านจอหอซึ่งมีพระยาศรีสุริยวงศ์เป็นผู้รักษาด่านทั้งสองทัพตีได้ด้านทั้งสองในเวลาใกล้เคียงกันกรมหมื่นเทพพิพิธเห็นว่าจะสู้ไม่ได้ จึงเตรียมหนีไปกรุงศรีสัตนาคนหุตแต่ถูกขุนชนะกรมการเมืองพิมายจับตัวไว้ได้เสียก่อนแล้วนำตัวมาถวายพระเจ้ากรุงธนบุรีในตอนแรกพระเจ้ากรุงธนบุรีเห็นว่าเป็นโอรสกษัตริย์คิดจะเลี้ยงไว้แต่กรมหมื่นเทพพิพิธมีขัตติยมานะไม่ยอมอ่อนน้อมด้วยพระองค์จึงให้ประหารเสียแล้วตั้งให้ขุนชนะเป็นพระยาคำแหงสงครามครองเมืองนครราชสีมาต่อเมื่อเลิกทัพกลับกรุงธนบุรีแล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงพระราชทานความดีความชอบแก่แม่ทัพนายกองทั้งหลาย ที่สำคัญตั้งพระราชวรินทร์เป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์และตั้งพระมหามนตรีเป็นพระยาอนุชิตราชาในตำแหน่งจางวางกรมตำรวจ ทั้ง 2 คน

ปราบชุมนุมเจ้านคร

0001

      การยกกำลังไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครนั้นเป็นเวลาเดียวกันกับที่เกิดเหตุการณ์ทางเขมรดังที่กล่าวมาแล้วพระเจ้ากรุงธนบุรีจำเป็นต้องแบ่งกำลังออกไปปฏิบัติการสองทางแต่เนื่องจากพระองค์ได้เตรียมการไปปราบปรามชุมนุมเจ้านครไว้แล้วเหตุการณ์ทางเขมรเป็นเหตุการณ์ที่แทรกซ้อนขึ้นมาแต่ก็มีความจำเป็นที่จะต้องดำเนินการในระดับหนึ่งเพื่อรักษาเกียรติภูมิของไทยที่กรุงกัมพูชาเคยเป็นข้าขอบขัณฑสีมาของไทยมาก่อน แต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาดังนั้นในด้านเขมรจึงส่งกำลังไปเพียงเล็กน้อยเพื่อยึดฐานปฏิบัติการขั้นต้นไว้ก่อน คอยเวลาที่กำลังส่วนใหญ่ ที่เสร็จภารกิจการปราบปรามชุมนุมเจ้านครแล้วมาดำเนินการขยายผลต่อไป การดำเนินการชุมนุมเจ้านคร  พระเจ้ากรุงธนบุรีทรงให้เจ้าพระยาจักรี (แขก) เป็นแม่ทัพใหญ่พระยายมราช  พระยาศรีพิพัฒน์ พระยาเพชรบุรีเป็นนายกองคุมกำลังทางบกมีกำลังพล 5,000 คนยกไปตีเมืองนครศรีธรรมราช เมื่อประมาณเดือน 4 ปีฉลู พ.ศ. 2312  เมื่อกองทัพยกไปถึงเมืองชุมพรเมืองไชยา  ตามลำดับกรมการเมืองทั้งสองก็เข้ามาอ่อนน้อมแต่โดยดีแต่เนื่องจากแม่ทัพนายกองที่ยกไปครั้งนั้นไม่สามัคคีกันเมื่อกองทัพยกลงไปถึงแดนเมืองนครศรีธรรมราชข้ามแม่น้ำหลวง (แม่น้ำตาปี) ไปถึงท่าหมาก  แขวงอำเภอลำพูนพบข้าศึกตั้งค่ายสกัดอยู่กองทัพกรุงธนบุรีเข้าตีค่ายข้าศึกไม่พร้อมกันจึงเสียทีข้าศึกพระยาศรีพิฒน์ และพระยาเพชรบุรีตายในที่รบพระยาจักรีก็ถอยทัพกลับมาตั้งอยู่ที่เมืองไชยาส่วนพระยายมราชก็มีใบบอกกล่าวโทษพระยาจักรีว่ามิได้เป็นใจด้วยราชการ

ชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก

photo07

การยกทัพขึ้นไปตีเมืองพิษณุโลก พ.ศ. 2311

          เจ้าพระยาพิษณุโลกตั้งตัวเป็นเจ้าเมืองพิษณุโลก มีอาณาเขตตั้งแต่เมืองพิชัยลงมาจนถึงเมืองนครสวรรค์ และ ปากน้ำโพ เจ้าพระยาพิษณุโลกมีนามเดิมว่า เรือง เคยเป็นข้าราชการผู้ใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา และเป็นผู้ที่มีความสามารถในการสู้รบ จึงมีผู้นับถืออยู่มาก เมื่อตั้งตนเป็นเจ้าแล้ว ได้มีข้าราชการเก่ากรุงศรีอยุธยาขึ้นมาสวามิภักดิ์อยู่ด้วยหลายนายในปี พ.ศ. 2311 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ทรงยกทัพไปปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก เจ้าพระยาพิษณุโลกได้ให้หลวงโกษา (ยัง) ยกกองทัพมาตั้งรับที่ตำบลเกยชัย เขตเมืองนครสวรรค์ พอกองทัพของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรียกขึ้นไปถึง ก็ได้ปะทะรบพุ่งกันอย่างสามารถ ข้าศึกได้ยิงปืนมาถูกพระชงฆ์ (หน้าแข้ง) ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีบาดเจ็บจึงต้องยกทัพกลับ เจ้าพระยาพิษณุโลกเห็นเป็นโอกาสเหมาะ จึงตั้งตนเป็นพระมหากษัตริย์ พอราชาภิเษกได้ 7 วัน ก็ได้ประชวร และถึงแก่พราลัยในที่สุด พระอินทรอากร น้องชายของเจ้าพระยาพิษณุโลกจึงได้ขึ้นครองเมืองแทน แต่ก็ทำให้เมืองพิษณุโลกอ่อนแอตามลำดับ ด้วยเหตุนี้ เจ้าพระฝางเห็นเป็นโอกาสอันเหมาะ จึงยกทัพลงมาตีเมืองพิษณุโลก และผนวกรวมกับชุมนุมพระฝางไปในที่สุด

การรบพม่าที่บางกุ้ง 

t63

     การประกาศเกียรติยศ ของพระเจ้าตาก  พ.ศ.2310

   ครั้นเจ้าตากกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ ในปี พ.ศ. 2310 โปรดให้คนจีนจาก ระยอง, ชลบุรี ,ราชบุรี และกาญจนบุรี รวบรวมพลพรรค มาตั้งเป็นกองทหารรักษา ค่ายบางกุ้ง ซึ่งยังไม่มีทหารรักษาหลังจากที่พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก ค่ายนี้จึงเรียกว่า “ค่ายจีนบางกุ้ง” ต่อมา “พระเจ้ากรุงศรีสัตนาคนหุต” เมืองเวียงจันทร์ซึ่งฝักใฝ่อยู่กับพม่าในสมัยนั้นไปทูลพระเจ้าอังวะถึงข่าวการตั้งตนเป็นใหญ่ของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีพระเจ้ามังระจึงให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวาย คุมกำลังให้มาตรวจตราดูสถานการณ์ในอาณาจักรอยุธยาเดิม พระยาทวายจึงส่งโปมังเป็นกองทัพหน้าคุมพล 3,000 นาย เข้ามาทางเมืองไทรโยคเมื่อฤดูแล้งปลายปี พ.ศ. 2310 ครั้นถึงบางกุ้งเห็นค่ายทหารจีนของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ พระยาทวายก็ให้กองทัพล้อมไว้ กรมการเมืองสมุทรสงครามบอกเข้ามายังกรุงธนบุรีตามพงศาวดารกรุงธนบุรีกล่าวว่าพระเจ้าตากสินทรงทราบข่าวข้าศึกด้วยความยินดียิ่งโปรดให้พระยามหามนตรี (บุญมา) จัดกองทัพเรือ 100 ลำเศษ พร้อมด้วยศาสตราวุธมายังค่ายบางกุ้งพระยามหามนตรีคาดการณ์ว่าค่ายบางกุ้งล่อแหลมกำลังจะแตกอยู่แล้วจึงรีบเดินทัพเข้าโจมตีพม่าที่ล้อมค่ายบางกุ้งโดยฉับพลัน ในตอนเรียกประชุมนายทัพนายกองเพื่อปลุกใจและบงการเข้าตีนั้นได้เน้นว่า “ถ้าช้าไปอีกวันเดียวค่ายบางกุ้งจะแตกและขวัญทหารไทยจะไม่มีวันฟื้นคืนได้ การรบทุกครั้งการแพ้อยู่ที่ขวัญและกำลังใจถ้าไทยแพ้อีกในครั้งนี้พม่าจะฮึกเหิมพวกไทยจะครั้นคร้ามและกู้ชาติไม่สำเร็จการรักษาค่ายบางกุ้งไว้ให้ได้ในครั้งนี้ ได้ชื่อว่าท่านทั้งหลายได้ช่วยขวัญของไทยในการรบครั้งต่อไป”

การรบครั้งนี้ตะลุมบอนกันด้วยอาวุธสั้น ออกพระมหามนตรีควงดาบสิงห์สุวรรณาวุธซึ่งทำด้ามและฝักกนกหัวสิงห์ใหม่ไล่ฆ่าฟันพม่าข้าศึกแตกกระจายแมงกี้มารหญ่าแม่ทัพพม่า ครั่นคร้ามพระมหามนตรีจึงเลี่ยงเชิงดูศึกได้ยินเสียงในค่ายที่ล้อมไว้จุดประทัดตีม้าล่อเปิดประตูค่ายส่งกระทุ้งออกมาทำให้พม่าอยู่ในศึกกระหนาบซ้ำยังเห็นผงคลีมืดครึ้มได้ยินเสียงการเคลื่อนไหวทัพหนุนเนื่องของไทยอีกแน่ใจว่าทัพหลวงของไทยติดตามมายิ่งเสียขวัญฝ่ายไทยกลับฮึกเหิมไล่ฟันแทงข้าศึกล้มตายเป็นอันมากที่เหลือก็พากันแตกหนี พระยาทวายเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ จึงสั่งทัพถอยรวบรวมไพร่พลกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าวกองทัพไทยได้เรือรบศัตรูทั้งหมดและได้เครื่องศาสตราวุธตลอดจนเสบียงอาหารเป็นอันมากชัยชนะในการรบที่ค่ายบางกุ้งนี้มีผลต่อชาวไทยหลายประการ อาทิ ไทยยังคงเป็นชาติเอกราชต่อไป ไม่ถูกย่ำยีทำลายล้างอีกประกอบกับขวัญและกำลังใจของคนไทยทั้งชาติที่พลอยฮึกเหิมขึ้นด้วยเมื่อเจ้าตากตีกรุงศรีอยุธยาคืนกลับมาได้กิตติศัพท์ก็เลื่องลือออกไปมีผู้มาอ่อนน้อมด้วยเป็นอันมากพวกชาวต่างประเทศที่มาค้าขายเห็นว่าเจ้าตากได้เป็นใหญ่ในราชธานีก็พากันนับถือว่าเป็นพระเจ้าแผ่นดินไทยเมื่อเจ้าตากมาตั้งมั่นอยู่ที่เมืองธนบุรีแล้วจึงทำพิธีราชาภิเษกเมื่อปีกุนพ.ศ.2310ประกาศพระเกียรติยศเป็นพระเจ้ากรุงศรีอยุธยามหากษัตริย์แทนโบราณราชแต่ก่อนแล้วปูนบำเหน็จนายทัพนายกองที่มีความชอบแต่งตั้งให้มียศศักดิ์ตามทำเนียมราชการครั้งกรุงศรีอยุธยา ครั้งนั้นนายสุดจินดาได้เป็นที่พระมหามนตรีเจ้ากรมตำรวจแล้วได้ไปชวนหลวงยกบัตรเมืองราชบุรีผู้เป็นพี่คือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯในเวลาต่อมาเข้ามารับราชการเป็นที่พระราชนรินทร์เจ้ากรมตำรวจด้วยราชอาณาเขตของพระเจ้ากรุงธนบุรีเมื่อราชาภิเษกอยู่ในเขตภาคกลางภาคตะวันออกและภาคใต้ตอนบนด้านเหนือสุดถึงเขตเมืองนครสวรรค์ตั้งแต่ปากน้ำโพลงมาด้านตะวันออกถึงเมืองตราดจดแดนเขมรด้านใต้ถึงเขตเมืองชุมพรคิดเป็นพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของราชอาณาจักรครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแต่บรรดาเมืองต่าง ๆ นอกจากหัวเมืองทางด้านตะวันออกถูกพม่าย่ำยีจนเป็นเมืองร้างอยู่เกือบทั้งหมดเกิดการขาดแคลนอาหารเพราะราษฎรไม่ได้ทำนาถึง2ปีพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องใช้วิธีซื้อข้าวสารจากพ่อค้าต่างเมืองซึ่งเรียกราคาสูงมากตกถังละ 4 ถึง 5 บาท  รวมทั้งเครื่องนุ่งห่มนำมาแจกจ่ายราษฎรที่ขาดแคลน ทำให้ผู้คนกลับเข้ามาอยู่ตามภูมิลำเนาเป็นเหตุให้พวกเจ้ากรุงธนบุรีมีกำลังคนมากขึ้น

การปกครองหัวเมือง   พ.ศ.2310 

ดาวน์โหลด (2)

      ด้านการปกครองหัวเมืองพระเจ้ากรุงธนบุรีก็ทรงตั้งข้าราชการออกไปปกครองซึ่งน่าจะมีอยู่ 11 เมือง คือ ลพบุรี , อ่างทอง,  กรุงเก่า  ,ฉะเชิงเทรา,  ระยอง  ,จันทบุรี, ตราด ,นครชัยศรี , สมุทรสงครามและเพชรบุรีพระเจ้ากรุงธนบุรีต้องแบ่งทหารออกไปตั้งประจำอยู่ตามหัวเมืองหลายแห่งเช่นให้ทหารจีนไปตั้งค่ายอยู่ที่ตำบลบางกุ้งที่ต่อแดนระหว่างเมืองสมุทรสงครามกับเมืองราชบุรีเมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีขึ้นมาตีกรุงศรีอยุธยาเพื่อขับไล่พม่าออกไปนั้นทางพม่าพระเจ้าอังวะทราบข่าวจากเจ้ากรุงศรีสัตนาคนเมืองเวียงจันทน์แต่เนื่องจากขณะนั้นพระเจ้าอังวะกำลังกังวลอยู่กับการที่จะเกิดสงครามกับจีนประกอบกับเห็นว่าเมืองไทยถูกย่ำยีอย่างยับเยินเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นไม่น่าจะร้ายแรงอะไรดังนั้นจึงเป็นแต่ให้มีท้องตราสั่งแมงกี้มารหญ่า เจ้าเมืองทวายให้คุมกำลังมาตรวจตราดูสถานการณ์และรักษาความสงบราบคาบในเมืองไทยพระยาทวายจึงเกณฑ์กำลังพล20,000 คนยกกำลังเข้ามาทางเมืองไทรโยคเมื่อฤดูแล้งปลายปีกุนพ.ศ.2310ในเวลานั้นเมืองกาญจนบุรีและเมืองราชบุรีซึ่งอยู่ในเส้นทางเดินทัพของพม่าจึงยังคงเป็นเมืองร้างอยู่ทั้งสองเมืองเรือรบของพม่ายังอยู่ที่เมืองไทรโยคค่ายคูของพม่าที่ตั้งอยู่ตามริมน้ำเมืองราชบุรีก็ยังคงอยู่เมื่อพระยาทวายยกกองทัพเข้ามาจึงเดินทัพมาได้โดยสะดวกปราศจากการขัดขวางใดๆจนล่วงเข้ามาถึงบางกุ้งเห็นค่ายทหารของพระเจ้ากรุงธนบุรีตั้งอยู่ จึงให้กองทัพเข้าล้อมไว้เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีทราบข่าวทัพพม่ายกเข้ามาก็จัดกำลังให้พระมหามนตรีเป็นแม่ทัพหน้าพระเจ้ากรุงธนบุรีเป็นทัพหลวงยกกำลังทางเรือออกไปเมืองสมุทรสงครามเมื่อถึงบางกุ้งก็ให้ยกกำลังเข้าโจมตีข้าศึกในวันนั้นทหารไทยใช้อาวุธสั้นเข้าไล่ตะลุมบอนข้าศึกล้มตายเป็นอันมากที่เหลือตายก็แตกหนีพระยาทวายเป็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ก็ถอยกำลังกลับไปเมืองทวายทางด่านเจ้าขว้าวซึ่งเป็นด่านทางเมืองราชบุรีกองทัพไทยยึดได้เรือรบของพม่าทั้งหมดและได้เครื่องศัตราวุธรวมทั้งเสบียงอาหาอีกด้วยเป็นอันมาก

บรรณานุกรม

การกอบกู้เอกราชของพระเจ้าตาก.  (2556). สืบค้นเมื่อ 19 กันยายน 2556,

จาก : http://pojjamansk.exteen.com/20091222/entry-8

การปราบชุมนุมเจ้าพระยาพิษณุโลก.  (2556). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2556

จาก:  http://th.wikipedia.org/wiki/

การรบที่บางกุ้ง.   (2310).สืบค้นเมื่อ20 กันยายน 2556 จาก:http://th.wikipedia.org

การรวมตัวกันเป็นชุมนุมต่างๆ.  (2556). สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2556

จาก :  https://sites.google.com/

การรบพม่าที่บางกุ้ง.  (2310).สืบค้นเมื่อ 16 กันยายน 2556

จาก :  http://th.wikipedia.org

ตีค่ายนายทองอินที่เมืองธนบุรี.   (2310).สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2556

จาก :  http://allknowledges.tripod.com

ตีค่ายโพธิ์สามต้น.  (2556).สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2556

จาก  http://www.gotoknow.org

สูญสิ้นเมืองอโยธยา.  (2556).สืบค้นเมื่อ 20 กันยายน 2556

จาก: http://th.wikipedia.org